Drop Down Post (เลือกอ่านบทความและโพสต์ Comment)

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ปัจจัย (Suffix) บันไดขั้นที่ 3 สู่การเสริมสร้างคำศัพท์ (ปฐมบทที่ 3)


บัดนี้มาถึงบทความบันไดขั้นสุดท้ายแล้วล่ะครับ หลังจากจบบทนี้แล้วต่อไปก็จะเป็นบทความที่ยกตัวอย่างของธาตุหรือรากศัพท์ (Roots) อุปสรรค (Prefix) และปัจจัย (Suffix) สลับกันไป รับรองว่าถ้าท่านผู้อ่านได้อ่านและทบทวนบ่อย ๆ แล้วมันจะเป็นรากฐานให้ท่านได้รู้จักคำศัพท์เพิ่มขึ้นและเดาความหมายของคำที่อ่านเจอได้อีกนับเป็นอนันต์เลยขอรับ

บทแรกและบทที่สองสำหรับท่านที่ยังไม่ได้อ่านครับ

รากศัพท์ (Roots) บันไดขั้นแรกสู่การเสริมสร้างคลังศัพท์ (ปฐมบทที่ 1)

อุปสรรค (Prefix) บันไดขั้นที่ 2 สู่การเสริมสร้างคลังศัพท์ (ปฐมบทที่ 2)

 

3. ปัจจัย (Suffix) – บันไดขั้นที่สาม


 ปัจจัย (suffix) เป็นองค์ประกอบของคำที่สำคัญน้อยกว่าธาตุและอุปสรรค เพราะมักเป็นส่วนที่เติมเข้าไปหลังจากที่ความหมายของธาตุและอุปสรรคได้กำหนดความหมายหลักของคำ ๆนั้นเรียบร้อยแล้ว (แม้จะไม่เสมอไปในทุกกรณี)

ในกรณีทั่วไปดังกล่าว ปัจจัยจะเป็นตัวกำหนด “หน้าที่” (function) ของคำนั้น ๆ ในการเรียนรู้เรื่องคำศัพท์ เราควรศีกษาเรื่องปัจจัยไว้ด้วย แม้จะไม่จำเป็นต้องรู้ลึกซึ้งมากมายเหมือนกับธาตุและอุปสรรค

ปัจจัยประกอบอยู่ข้างท้ายของคำ ในขณะที่อุปสรรคประกอบอยู่ข้างหน้า บางครั้งก็อาจทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป แต่ส่วนใหญ่แล้วใช้เป็นตัวกำหนดหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำมากกว่า 

 2 ตัวอย่างปัจจัยเบื้องต้นยกมาให้เพื่อเข้าใจพอสังเขป

เช่น ปัจจัย –s ที่ท้ายคำเป็นจำนวนของคำนามที่เปลี่ยนจากรูปเอกพจน์เป็นพหูพจน์ ตัวอย่าง boys = เด็กชายหลายคน เป็นต้น

ปัจจัย –ed เป็นตัวบ่งชี้ถึงกาลเวลาของคำกริยา แสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตหรือปัจจุบัน เช่น walked มีความหมายว่าเป็นกริยาการเดินที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว

ดังนั้นกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หน้าที่หลักของปัจจัยคือบอกหน้าที่ของคำ ว่าเป็นคำนาม คำกริยาหรือคำขยาย ได้แก่ คำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ นั่นเองครับ และนอกจากนี้ยังบอกถึงจำนวนและบอกให้รู้กาลของคำนั้น ๆด้วย

สำหรับท่านที่อดทนอ่านมาจนจบบทความนี้ บางท่านอาจมีคำถามอยู่ในใจว่า สูเจ้าทำไมต้องคัดลอกเรื่องพวกนี้มาเขียนให้พวกตูอ่านทำไมวะ??? ผมขอตอบว่า พณ.ท่านเคยอ่านเจอที่ไหนบ้างไหมครับที่ยกตัวอย่างให้ดูพร้อมคำแปลน่ะ (นอกจากท่านมีหนังสือเหมือนผม ขุ…ขุ…)

ถุึงแม้ผมจะก็อบหนังสือเขามา แต่จะพยายามเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายขึ้นอีก เน้นข้อความสำคัญด้วยอักษรสีให้เด่นชัดเพื่อง่ายต่อการอ่านและจดจำ สามารถเก็บไว้อ้างอิง ทบทวนเมื่อกาลเวลาได้ผ่านไปสัก 2-3 ปีข้างหน้า (ถ้าน้อยไปก็สัก 20-30 ปีก็แล้วกัน)

หนังสือเก่าหรือความรู้เก่าที่มิค่อยเคยนำมาเผยแพร่จะมีคุณค่าในตัวมันเองตามกาลเวลาเมื่อสิ่งเหล่านี้หายาก สมดังเช่นคำท่านว่า “Scarcity makes things more precious.”

คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดจริง
(ผมสรุปให้ดูเป็นรูปภาพ)

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น