บทความต่อไปนี้เป็นรากฐานสำคุัญสำหรับท่านที่ต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในด้านคำศัพท์ (Vocabulary) คำศัพท์เนี่ยเป็นพื้นฐานการเรียนรู้สำหรับทุก ๆภาษาเลยนะครับถ้าเราไม่รู้คำศัพท์เพิ่มขึ้น เราก็ไม่สามารถต่อยอดการเรียนรู้ภาษาได้
ในการสร้างคำศัพท์ เราจำเป็นต้องเรียนรู้องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญ 3 ส่วนของศัพท์ และเมื่อเรารู้จักและเข้าใจทั้ง 3 ส่วนนี้มันจะช่วยให้เรารู้คำศัพท์เพิ่มขุึ้นเป็นพัน ๆคำ หมดสมัยแล้วล่ะครับ ที่จะมามัวนั่งท่องคำศัพท์เป็นคำ ๆว่าคำนี้แปลว่าอะไร คำโน้นแปลว่าอย่างงี้ ให้มันเปลีองหน่วยความจำในสมอง (อย่างผมนี่ สมองมันเริ่มฝ่อ จำอะไรไม่ค่อยได้…โฮ..แง..ๆ..ๆ จึงต้องหาทางฟื้นฟูด้วยการเขียนบทความนี้….อิ…อิ.. ตูจะบ้า..เดี๋ยวร้องไห้เดี๋ยวหัวเราะ)
ในตอนแรกนี้ผมจะขออธิบายบันไดขั้นแรกกันก่อน อ้อ..ลืมบอกไปว่าบทความในหมวดนี้ส่วนใหญ่ผมคัดเรียบเรียงมาจากหนังสือ “ศาสตร์แห่งศัพท์ภาษาอังกฤษ” ของรีดเดอร์ส ไดเจสท์ เพราะฉนั้นในบทความตอนต่อ ๆไป ถ้าผมไม่กล่าวถึงที่มา ขอให้เข้าใจด้วยว่ามาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันนะครับ ช่วงนี้ผมขอยึดซือแป๋ (อาจารยฺ์) เล่มนี้เอาไว้ก่อน
1. รากศัพท์ (Roots) - บันไดขั้นแรก
Roots หรือรากศัพท์ คือส่วนที่บอกความหมายสำคัญซึ่งจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะมีส่วนอื่นของคำมาเสริมอยู่ข้างหน้าหรือต่อท้ายก็ตาม รากศัพท์พื้นฐานในภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่บ่อย ๆมีอยู่ 72 ตัว ตามหนังสือเขาบอกมาแบบนี้
(ไม่รู้ว่าทำไมถึงมี 72 ตัวตรงกับยอดวิชาวัดเซ่าหลินหรือที่เรารู้จักกันภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “เสียวลิ้มยี่” อย่างบังเอิญซึ่งมี 72 วิชาเช่นกัน)
หนังสือเขาใช้คำว่า ธาตุ (แต่ผมกลับไปคิดถึงยาธาตุน้ำแดงตรามือที่เมื่อเด็ก ๆผมชอบขโมยจิบเป็นประจำ มันชุ่มคอดีอ่ะครับ) วิธีที่เสริมสร้างคลังศัพท์ที่รวดเร็ว มีประโยชน์และง่ายดายที่สุด คือการวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจว่าคำศัพท์เหล่านี้ประกอบขึ้นอย่างไร
ท่านทราบหรือไม่ว่าภาษาอังกฤษนั้นมีคำนับแสน ๆคำที่สร้างจากส่วนประกอบที่แยกแยะออกได้เด่นชัด 2 ส่วน ซึ่งมักจะมาจากภาษา ”ละติน” และ ”กรีก” การเรียนและจดจำคำทั้งหมดคงเป็นไม่ได้ แต่ส่วนประกอบหรือหน่วยย่อยที่ใช้สร้างคำนั้นมีจำนวนจำกัดและมีความหมายง่าย ๆช่วยให้เราวิเคราะห์ เข้าใจและใช้คำนับพัน ๆคำได้แทบจะในทันที
ตัวอย่างรากศัพท์หรือธาตุ
“SAL” รากศัพท์ภาษาละติน ซึ่งแปลว่า เกลือ เพราะทหารโรมันได้รับเบี้ยเลี้ยงพิเศษเพื่อซื้อเกลือใช้เองในสมัยก่อน ดังนั้นสำนวนที่ว่า “He’s not worth his own salt.” จึงหมายถึง เขาทำงานไม่คุ้มค่าจ้างนั่นเองขอรับ
คำว่า Salary = เงินเดือน สร้างมาจากธาตุหรือรากศัพท์ SAL ตัวนี้นี่เอง
ลองดูเพิ่มเติมสำหรับธาตุเกลือตัวนี้กันครับ หลักการง่าย ๆว่ามีอะไรบ้างที่เราใส่เกลือลงไป
- Salads (ผักสลัด)
- Salami (ไส้กรอกซาลามี - เนื้อชนิดหนึ่งที่ใส่เครื่องเทศและเกลือมาก ๆ)
- Saline (ซึ่งมีเกลือ - สารละลายที่มีเกลือ ซึ่งนักเคมีมักเรียกน้ำเค็ม ดินเค็ม
“VIT or VIV” แปลว่า ชีวิต (life) หรือ มีชีวิต (to live)
vit มาจากคำนามภาษาละตินซึ่งหมายถึง “ชีวิต”
viv มาจากคำกริยาภาษาละตินซึ่งแปลว่า “มีชีวิต”
ตัวอย่างคำที่สร้างจากรากศัพท์นี้
- revive (มีชีวิตอีกครั้งหรือทำให้มีชีวิตอีกครั้ง ทำให้ฟื้นคืนชีพ กำลัง สุขภาพ)
The lifeguard revived the man by artificial respiration.
ยามชายฝั่งทำให้ชายผู้นั้นฟื้นขึ้นมาด้วยการผายปอด - vital (เกี่ยวกับชีวิตหรือจำเป็นต่อชีวิต / เต็มไปด้วยชีวิตชีวา)
Oxygen is vital for all animals.
ออกซิเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อสัตว์ทั้งปวง - vitamin (สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายคนและสัตว์)
Vitamin C, found in citrus fruits, prevents scurvy.
วิตามินซี พบในผลไม้ประเภทส้มและมะนาว ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
เป็นไงครับ ตัวอย่างเล็ก ๆน้อย ๆพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจบันไดขั้นแรกนี้ได้บ้าง จากตัวอย่างจะเห็นว่า นอกเหนือจากรากศัพท์แล้วจะมีคำอื่นมาประกอบ
คำว่า “re” คำที่ต่อเติมหน้าราก อันนี้คืออุปสรรค (prefix)
และมี “-al” มาต่อท้าย นี่ก็คือ ปัจจัย (suffix)
ซึ่งทั้ง 2 คำที่เติมหน้าและต่อท้ายคือบันไดขั้นที่ 2 และ 3 ที่ผมกำลังจะกล่าวถึงในบทความตอนต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น